ข่าวล่าสุด
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างโครงการก่อสร้างระบบประปาผิวดินบ้านหนองโยก หมู่ที่ 3 บ้านนาพลัด โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างโครงการก่อสร้างถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต รหัสทางหลวงท้องถิ่น รหัสทางหลวงท้องถิ่น นศ.ถ.120-27 บ้านนาจิก-โคกเกาะ หมู่ที่ 2 (ช่วงที่ 4) บ้านเกาะปราง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ขอความอนุเคราะห์สนับสนุนผลิตภัณฑ์ "ดอกแก้วกัลยา" รายงานสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือจัดหาพัสดุประจำปี พ.ศ.2566
ผู้บริหารหน่วยงาน
  ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

กระดานสนทนา

   ห้องสนทนา ถาม ตอบ

ปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องฮิตติดปากของคนไทยทุกวันนี้ ปัจจุบันคนในสังคมมองหาหนทางรักษาสุขภาพ วันนี้เรามี 6 วิธีที่นำมาฝากเพื่อคุณภาพที่ดี 1.ผลไม้กับมื้ออาหาร ก่อนทานอาหารควรเรียกน้ำย่อยด้วยสับปะรดและมะละกอสัก 2-3ชิ้น จะทำให้กระเพาะย่อยอาหารมื้อหลักที่กำลังจะตามลงมาใด้ง่ายขึ้น 2.เนื้อสัตว์กับผลไมไม่เข้ากัน ถ้าทานน้อยๆไม่เป็นไร แต่ถ้ามื้อไหนทานเนื้อเป็นจำนวนมาก แล้วควรงดผลไม้ไป เพราะผลไม้ซึ่งย่อยเร็วจถูกกักอยู่ในกระเพาะ ทำให้เกิดกรดในกระเพาะ 3.ความเครียดทำลายผิว ถ้าอยากผิวสวย แก่ช้า ดูอ่อนกว่าวัย สิ่งแรกที่ต้องปรับคือความคิดของตัวเราเอง พยามคิดในทางบวก มองโลกในแง่ดี หลีกเลี่ยงความคิดที่ทำให้ตึงเครียด เพื่อไม่ให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกทำลายตัวเราเอง 4.งดเครื่องดื่มคาเฟอีน เครื่องดื่มพวกนี้ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ ปกติไม่ควรดื่ม เพราะจะไปลดการหลั่งสารเอนโดรฟินซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆ อาการปวดจะไม่หายและอาจจะเป็นมากขึ้น 5.ดื่มน้ำเร็ว อันตราย การดื่มนำปริมาณมากๆๆในครั้งเดียวอาจทำให้เกิดอาการน้ำเป็นพิษเนื่องจากเลือดจาง และอาจทำให้เป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็งตามมา ยิ่งถ้าอาการเกร็งไปเกิดที่สมอง หัวใจ ปอด ทำให้ระบบหายใจล้มใด้ 6.เบาหวานอย่าทานไข่ สมาชิกในครอบครัวเป็นเบาหวาน ควรให้เขางดไข่ไปเลย เพราะรายงานทางการแพทย์ถ้าคนเป็นเบาหวานทานไข่อาทิตย์ละฟองจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากขึ้น
0   0  

โรคมือเท้าปากเปื่อย โรคมือเท้าปากเปื่อยเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก ทำให้มีอาการไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว จัดเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย สาเหตุของโรคมือเท้าปากเปื่อย โรคมือเท้าปากเปื่อยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อย เช่น คอกซากีไวรัส เอ16 (coxsackievirus A16) และเอนเทอโรไวรัส 71 (enterovirus 71) กลุ่มเสี่ยงที่พบบ่อยคือ เด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต สำหรับผู้ใหญ่พบโรคนี้ได้บ้าง การติดต่อของโรคมือเท้าปากเปื่อย โรคมือเท้าปากเปื่อยสามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากจมูก ลำคอ น้ำลาย และน้ำจากตุ่มใส รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้ออยู่ และสามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสของเล่น พื้นผิวสัมผัสที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ อาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ มือของผู้เลี้ยงดู โดยสถานที่ที่มักพบการระบาดของโรค ได้แก่ สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล และช่วงที่มักมีการระบาดของโรคนี้คือ ช่วงฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว อย่างไรก็ดี โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่สัตว์หรือสัตว์สู่คน ทั้งนี้ โรคนี้สามารถเป็นซ้ำได้อีก เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งๆ อาจไม่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ได้ แม้จะจัดอยู่ในกลุ่มย่อยของเชื้อไวรัสเดียวกัน อาการและภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปากเปื่อย อาการเริ่มต้นของโรคมือเท้าปากเปื่อยจะคล้ายไข้หวัด คือ มีไข้ประมาณ 2-4 วัน และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากนั้นจะมีผื่นแดงอักเสบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ต่อมาเกิดผื่นแดงที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ในบางรายอาจพบที่ก้นด้วย โดยผื่นที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะกลายเป็นตุ่มพองใสและแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ โดยส่วนใหญ่หากไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่นอาการมักหายได้เองภายใน 7-10 วัน อย่างไรก็ตาม โรคมือเท้าปากเปื่อยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไปจนถึงเสียชีวิตได้ โดยอาการแทรกซ้อนไม่สัมพันธ์กับจำนวนแผลในปากหรือตุ่มที่พบตามฝ่ามือฝ่าเท้า ในรายที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงอาจมีแผลไม่กี่จุดในลำคอหรืออาจมีตุ่มเพียงไม่กี่ตุ่มตามฝ่ามือฝ่าเท้าก็ได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก แม้จะดูว่าผื่นและแผลในปากหายไปแล้วก็ตาม โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที เช่น • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม • บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว • มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ • ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน • มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง • มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค แพทย์จะทำการวินิจฉัยแยกโรคตามอาการ โดยผู้ป่วยที่มีผื่นที่มือ อาจต้องแยกออกจากโรคผื่นแพ้ โรคอีสุกอีใส ผื่นจากเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ สำหรับโรคมือเท้าปากเปื่อย โดยทั่วไปแพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากอาการและอาการแสดง แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง แพทย์อาจทำการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยัน ซึ่งการตรวจเพิ่มเติมนี้ไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกราย ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ได้แก่ • การส่งตรวจตัวอย่างสิ่งคัดหลั่งและ/หรืออุจจาระเพื่อหาเชื้อไวรัส (ใช้เวลาประมาณ 1-7 วัน ขึ้นกับวิธีการตรวจ) o การตรวจหายีนของไวรัสด้วยวิธี polymerase chain reaction (PCR) o การเพาะเชื้อไวรัส (virus culture) การรักษาโรคมือเท้าปากเปื่อย เนื่องจากในปัจจุบันโรคมือเท้าปากเปื่อยยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ การรักษาจึงเป็นการรักษาอาการทั่วๆ ไปตามแต่อาการของผู้ป่วย เช่น เจ็บคอมาก รับประทานอะไรไม่ได้ ผู้ป่วยดูเพลียจากการขาดอาหารและน้ำ ก็จะให้พยายามป้อนน้ำ นมและอาหารอ่อน ในรายที่เพลียมากอาจให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด และ/หรือหยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก ร่วมกับการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนทางสมองและหัวใจ เป็นต้น การป้องกันโรคมือเท้าปากเปื่อย เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมือเท้าปากเปื่อย สิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลรักษาสุขอนามัยที่ดี โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันโรคมือเท้าปากเปื่อย รวมถึงป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้โดย • หลีกเลี่ยงการให้เด็กคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย • รักษาอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็กเล็กควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน และรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด • ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ ขวดนม • เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว • รีบซักผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระให้สะอาดโดยเร็ว และทิ้งน้ำลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ • หากเด็กมีอาการของโรคมือเท้าปากเปื่อยให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ และเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมือเท้าปากเปื่อย ต้องให้เด็กหยุดเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหาย ในกรณีที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปากเปื่อยชนิดที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะมีการเสียชีวิต เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น เช่น • การปิดทั้งโรงเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ • การคัดแยกเด็กป่วยออกตั้งแต่เดินเข้าที่หน้าประตูโรงเรียน • การหมั่นล้างมือ เช็ดถูทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ สิ่งสำคัญที่คุณแม่ซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับลูกที่สุด จะต้องหมั่นสังเกตอาการ หากลูกมีอาการป่วยที่ผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที
0   0  

สามารถร้องเรียนเรื่องราวต่างๆ ได้ที่ห้องนี้ำ (ห้ามโปรโมทสินค้าในห้องนี้)
0   0  

พูดคุยสนทนาเรื่องราวทั่วไป แลกเปลี่ยนความรู้ (ห้ามโปรโมทสินค้าในห้องนี้)
2   0  

จำนวน 4 ห้อง



กระทู้ล่าสุด

ทำธุรกิจปั๊มน้ำมันไม่แพงอย่างที่คิด ( กรุณาอ่านให้จบ)   

โดย   ต่อ จิรวัฒน์    วันที่    01   มี.ค.   2558    เวลา   12:55:48   อ่าน   0   ตอบ   9342


ยินดีต้อนรับสู่องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์

โดย   ผู้ดูแลระบบ    วันที่    11   ม.ค.   2557    เวลา   14:35:43   อ่าน   0   ตอบ   14926





กฏ กติกา ในการใช้งานกระดานสนทนา

คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางในการใช้กระดานสนทนา

  1. ตรวจดูว่ามีกระทู้ที่มีเนื้อหาในทางเดียวกับที่กำลังจะตั้งกระทู้ เพื่อจะได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน
  2. ใช้ข้อความที่สุภาพ เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมต่อสังคม
  3. ตั้ง กระทู้ให้ตรงกับเนื้อหาของแต่ละกลุ่มเพียงกระทู้เดียวเท่านั้น ดังนั้นจึงควรจะทำความเข้าใจถึงลักษณะของแต่ละกลุ่มให้ดีก่อนตั้งกระทู้
  4. เปิด ใจให้กว้าง ยินดีรับฟังและเคารพในเสรีภาพของการเสนอความคิดเห็นของผู้อื่น พึงตระหนักอยู่เสมอว่านี่เป็นเสมือนสังคมหนึ่งที่เปิดกว้างต่อสาธารณะ
  5. การ เสนอความเห็นต่อกระทู้ใดๆ พึงระลึกเสมอว่า มีผู้อ่านที่แตกต่างกันทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ และวุฒิภาวะ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการใช้ข้อความ เช่น ข้อความที่ส่อไปในทางอนาจารเกินกว่าเหตุ หรือมีผลยั่วยุทางกามารมณ์ ข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ซึ่งอาจนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้ง ข้อความที่มีเนื้อหาขัดต่อกฏหมาย หรือศีลธรรมอันดีของสังคม ข้อความที่พาดพิงบุคคลที่สามในทางหมิ่นประมาท เป็นต้น
  6. พึง ตระหนักอยู่เสมอว่า การเสนอคำถามหรือความเห็นต่อสังคม ควรจะมีความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่ได้เสนอไป เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานอันดีต่อสังคมอินเตอร์เนตสืบไป
  7. ไม่ใช้ เว็บไซท์แห่งนี้ เสนอข้อความซึ่งเป็นการใส่ร้ายผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่บุคคลหรือนิติบุคคลสาธารณะ อันข้อความเหล่านั้น แหล่งข้อมูลที่อ้างอิงที่ชัดเจน
  8. ไม่ใช้นามแฝงของผู้อื่นโดยเจตนา อันอาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในความเป็นเจ้าของข้อความนั้น
  9. หาก มีความผิดพลาดในการตั้งกระทู้ เช่น ผิดพลาด ซ้ำซ้อน ข้อความไม่ครบหรือคลาดเคลื่อน ตั้งกระทู้ผิดกลุ่ม เจ้าของกระทู้สามารถแจ้งความขอถอนกระทู้ได้โดยคลิก แจ้งลบกระทู้ ภายในกระทู้

การร่วมแสดงความเห็นในกระทู้ ผู้เข้าร่วมพึงต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ หรือพาดพิงสถาบันมหากษัตริย์ และราชวงศ์ เป็นอันขาด
  2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว เกินกว่าที่บันทัดฐานของสังคมจะยอมรับได้
  3. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางลามก อนาจาร
  4. ห้ามเสนอข้อความอันมีเจตนาใส่ความบุคคลอื่น ให้ได้รับการดูหมิ่นเกลียดชังจากบุคคลอื่น โดยไม่มีแหล่งที่มาของข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจน
  5. ห้าม เสนอข้อความอันเป็นการท้าทาย ชักชวน โดยมีเจตนาก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท หรือก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น โดยมูลแห่งความขัดแย้งดังกล่าว ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยเสรีเช่นวิญญูชน พึงกระทำ
  6. ห้ามเสนอข้อความกล่าวโจมตี หรือวิพากษ์วิจารณ์ในทางเสียหายต่อ ศาสนา หรือคำสอนของศาสนาใดๆ ทุกศาสนา
  7. ห้าม ใช้นามแฝงอันเป็นชื่อจริงของผู้อื่น โดยมีเจตนาทำให้สาธารณะชนเข้าใจผิด และเจ้าของชื่อผู้นั้นได้รับความเสียหาย หรือเสื่อมเสียชื่อเสียง
  8. ห้ามเสนอข้อความอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในระหว่างสถาบันการศึกษา หรือระหว่างสังคมใดๆ
  9. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของสังคม

หาก ตรวจพบข้อความใดเข้าข่ายดังกล่าวมาแล้ว ทางองค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์ขอสงวนสิทธิ์ในการใช้ ดุลยพินิจที่จะลบกระทู้เหล่านั้นทั้งกระทู้ หรือข้อความเห็นเหล่านั้นออกไป โดยอาจแสดงเหตุผลหรือไม่แสดงเหตุผลก็ตาม รวมถึงการขยายผลในการดำเนินการอื่นๆ เพื่อปกป้องสิทธิของสาธารณชนตามสมควรจากผลแห่งความผิด หรือผลแห่งกิจกรรมนั้น



องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์
ตั้งอยู่เลขที่ 290/1 หมู่ 1 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช       0-7575-5400       0-7575-5402
       admin@abtnapho.go.th